ประวัติทีมชาติอาเมเนียร์

อาร์มีเนีย หรือ อาร์เมเนีย อดีตประเทศในการปกครองของสหภาพโซเวียตที่พึ่งจะได้รับเอกราชแยกตัวเป็นอิสระภาพเมื่อปี ค.ศ. 1991 ก่อตั้งเป็นสาธารณรัฐอามีเนียร์ เข้าร่วมเป็นสมาชิกของสภายุโรป เมืองหลวงมีชื่อว่าเยเรวาน และฟุตบอลทีมชาติอาร์เมเนียอยู่ภายใต้สังกัดการควบคุมดูแลของ สหพันธ์ฟุตบอลอาร์เมเนีย และ สหภาพสมาคมฟุตบอลยุโรป (ยูฟ่า:EUFA) องค์กรที่จัดการดูแลเกี่ยวกับกีฬาฟุตบอลทั้งหมดในประเทศอาเมเนียร์ได้แก่ ทีมชาติ(ชาย) ทีมชาติ(หญิง) อาเมเนียร์ พรีเมียลีก ลีกอันดับ 1 ในประเทศ รวมถึงฟุตซอล ล้วนอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลจากสหพันธ์ฟุตบอลอาร์เมเนียทั้งหมด ได้รับการรับรองเข้าร่วมเป็นสมาชิกกับทาง ฟีฟ่า และ ยูฟ่า ตั้งแต่ปีค.ศ.1992 ทีมชาติอาเมเนียร์เข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลระดับโลกเป็นครั้งแรกเมื่อปี 1996 และได้เข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลสำคัญๆเสมอมา

บันทึกที่เกี่ยวข้องกับทีมชาติอาเมเนียร์ที่เก่าแก่ที่สุดย้อนกลับไปได้ถึงปี 1926 – 1927 ในการแข่งขันถ้วย ทราน – คอเคเชี่ยน แชมป์เปี้ยนชิป (Trans-Caucasian Championship) ก็มีบันทึกไว้ว่าทีมชาติอาเมเนียร์ได้เข้าร่วมการแข่งขันนี้ด้วยเช่นกัน หลังจากนั้นก็มีการก่อตั้งสมาคมฟุตบอลเกิดขึ้นเรื่อยๆตลอดมา ซึ่งในปัจจุบันสมโมสรฟุตบอลอาชีพ อันดับ 1คือ FC Ararat Yerevan แม้ว่าผลงานที่ดีที่สุดของทีมชาติอาเมเนียร์จะอยู่เพียงแค่อันดับที่ 3 ในรอบคัดเลือกฟุตบอลยูโร 2012 แม้จะไม่เคยผ่านการเข้าสู่รอบคัดเลือกฟุตบอลรอบสุดท้ายทั้ง ฟุตบอลโลก และ ฟุตบอลยูโร แต่ได้เลื่อนขั้นขึ้นไปลีก B ของถ้วย ยูฟ่าเนชั่นลีก 2022 – 2023 เป็นครั้งแรก ซึ่งใน ฟุตบอลโลก กาตาร์ 2022 ก็จะเป็นการผ่านเข้ามาถึงฟุตบอลโลกคัดเลือกรอบสุดท้ายเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ฟุตบอลทีมชาติอาเมเนียร์

ผลงานและการเข้าร่วมการแข่งขัน

ทีมชาติอาร์เมเนีย VS ทีมชาติโรมาเนีย ฟุตบอลโลกรอบคัดเลือก

สหพันธ์ฟุตบอลอาร์เมเนีย ก่อตั้งเมื่อปี 1991 ทำหน้าที่เป็นผู้ควบคุมจัดการทีมชาติทั้งหมดทั้งทีมชาติชาย และ ทีมชาติหญิง และสหพันธ์ฟุตบอลอาร์เมเนียก็ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกกับ สหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ (FIFA : ฟีฟ่า) ปี 1992 และ สหภาพสมาคมฟุตบอลยุโรป (UEFA : ยูฟ่า) เมื่อปี 1993 จากการจัดลำดับล่าสุดของทางฟีฟ่าทีมชาติอาเมเนียร์อยู่ลำดับที่ 36 จากทั้งหมด 55 ชาติสมาชิก

  1. ฟุตบอลโลก FIFA World Cup (ฟีฟ่า เวิลด์คัพ) เข้าร่วมการแข่งขันเป็นครั้งแรกตั้งแต่ปี 1930 ที่ยังเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียตอยู่เรื่อยๆมาจนถึงปี 1990 จนถึงปี 1998 ฟรองซ์ 1998 ประเทศฝรั่งเศสเป็นเจ้าภาพได้ส่งทีมฟุตบอลเข้าร่วมในนามทีมชาติอาเมเนียร์เป็นครั้งแรก และเข้าร่วมการแข่งขันรวมมาแล้วทั้งหมด 6 ครั้ง ก็ยังไม่สามารถผ่านเข้าสู่การคัดเลือกรอบสุดท้ายได้เลยมาสำเร็จเมื่อปี 2023 กาตาร์ เวิล์คัพครั้งนี้ ซึ่งหมายความว่าทีมชาติอาร์เมเนียเป็นประเทศคอเคซัสแห่งแรกที่ผ่านเข้ารอบสำหรับการแข่งขันฟุตบอลโลก
  2. ยูฟ่า ยูโรเปี้ยน แชมเปี้ยนชิพ (UEFA European Championship) ลงสนามแข่งเป็นครั้งแรกกับมอลตาจากการเข้าประชุมเพื่อจะเข้าร่วมเป็นสมาชิก และใน 4 ปีถัดมาก็ได้รับการรับรองฐานะสมาชิก แต่ส่งทีมชาติเข้าร่วมตั้งแต่ยังเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียตปี 1960 และก็ยังไม่เคยผ่านเข้าสู่การคัดเลือกรอบสุดท้ายยูโร 2020 นี้ก็เช่นกัน รวมเข้าการแข่งขันทั้งหมด 7 ครั้ง
  3. ยูฟ่า เนชั่น ลีก (UEFA Nations League) เข้าร่วมการแข่งขั้นพร้อมกับการก่อตั้งถ้วยรางวัลนี้เมื่อปี 2018 – 19 อยู่ในดิวิชั่น D เป็นครั้งแรก จบทัวร์นาเม้นต์แรกอยู่ที่ 2 ของกลุ่ม ลำดับที่ 45 ของยูฟ่าและเลื่อนขึ้นมาเป็นดิวิชั่น C ปี 2020 -2021 อยู่กลุ่ม 2 ของดิวิชั่นจบการแข่งขันเป็นจ่าฝูงของกลุ่มนี้และได้รับการเลื่อนขึ้นให้มาเล่นในดิวิชั่น B และเป็นทีมชาติเคเคซัสประเทศแรกที่ได้ตั๋วเข้าไปเล่นรอบเพย์ออฟฟุตบอลโลก

นักเตะทีมชาติผู้เล่นชุดปัจจุบัน

เล่นทีมชาติชุดนี้ถูกเรียกตัวมาตั้งแต่นัดกระชับมิตรกบ โครเอเชีย และ สวีเดนวันที่ 1 และ 5 มิถุนายน 2564 ล่าสุด มีจำนวนทั้งหมด 23 คนแบ่งเป็นผู้รักษาประตู 3 คน กองหลัง 8 คน กองกลาง 10 และกองหน้า 3 คน ดังนี้

  1. ผู้รักษาประตู (Goalkeepers) Davit Yurchenko (เดวิช ยูร์เชนโก้ 35 ปี), Grigor Meliksetyan (กริกอร์ มากิเซทยาน 35 ปี), Arman Nersesyan (อาร์มาน เนอร์เซยาน 19 ปี)
  2. ผู้เล่นกองหลัง (Defenders) มีทั้งหมด 8 คนได้แก่ Taron Voskanyan (ทารอน วอสกันยัน 28 ปี), Varazdat Haroyan (วาราเดส ฮาโรยาน 29 ปี), Kamo Hovhannisyan (คาโม ฮอฟฮันนิเซียน 28 ปี), Davit Terteryan (ดาวิด เทอร์เทอร์ยาน 23 ปี), Hakob Hakobyan ( ฮากอบ ฮาโกเบียน 24 ปี), Albert Khachumyan (อัลเบิร์ต คาชุมยาน 24 ปี), Andre Jack Calisir (อังเดร คาลิซีร์ 22 ปี), Jordi Joao Monroy Ararat ( จอร์ดี้ มอนรอย 25 ปี)
  3. ผู้เล่นกองกลาง (Midfielders) มีทั้งหมด 11 คน ได้แก่ Artak Grigoryan (อาร์ตัก กริกอร์ยาน 33 ปี), Karen Muradyan (คาเรน มูราดยาน 28ปี), Zhirayr Shaghoyan (เชอเรย์ ชาโกยาน 20 ปี), Tigran Barseghyan (ทิกราน บาร์เซกียาน 27 ปี) Vahan Bichakhchyan (วาฮาน บิคชักยาน 22 ปี) Khoren Bayramyan (โคเรน บารามยาน 29 ปี), Wbeymar Angulo Mosquera (วิเบมาร์ แองกูโล โมสเกร่า 29 ปี) Eduard Spertsyan (เอดูรัด สเปอเซียน 21 ปี),Henrikh Mkhitaryan (Captain) (เฮนริค มคิทาร์ยา กัปตันทีมชาติ 32 ปี) Edgar Babayan (เอ็ดการ์ บาบายัน 25ปี)
  4. ผู้เล่นศูนย์หน้า (Forwards) มีทั้งหมด 3 คน Sargis Adamyan (ซาร์สกิส อดามยาน 28 ปี),Artur Miranyan (อาร์ตูร์ มิรานยัน 25 ปี), Karen Melkonyan (คาเรน เมโคยาน 22 ปี)

สถิติในการแข่งขันที่ผ่านมา

หลังจากที่ได้รับรองในการเข้าร่วมเป็นสมาชิกอย่างเป็นทางการของ ฟีฟ่า และ ยูฟ่า ในปีค.ศ.1992 ทีมชาติอาร์เมเนียก็เข้าร่วมทุกการแข่งขันรอบคัดเลือกมาโดยตลอด หัวหน้าผู้ฝึกสอนเฮดโค้ชคนแรกของทีมชาติก็คือ เอดวร์ด มาร์คาคอฟ และสุดยอดนักเตะในตำนานตลอดกาล โคเรน โอกาเนเซียน เข้ามารับหน้าที่เป็นผู้ฝึกสอนทีมชาติเป็นคนแรกๆ แต่ก็ยังทำผลงานได้ไม่เข้าเป้าซักที จนมาถึงปีค.ศ 2006 ที่เอียน พอร์เตอร์ฟิลด์ โค้ชชาวสก็อตแลนด์ขึ้นรับตำแหน่งหัวหน้าผู้ฝึกสอนก็สามารถพาทีมชาติอาร์เมเนียเอาชนะทีมยักษ์ใหญ่ในรับนานาชาติได้หลายๆประเทศอย่างเช่น เสมอ โปรตุเกส 1 – 1 ในชุดที่มีคริสเตียโน โรนัลโด เป็นผู้เล่นนักเตะตัวจริงในทีมอยู่ตอนนั้น แต่พอร์เตอร์ฟิลด์ก็ยังทำผลงานพาทีมไปได้ไม่ไกลเกินกว่านั้นเพราะเกิดอุบัติเหตุเสียชีวิตไปเสียก่อน วาร์ดาน มินาสยาน เข้ามาทำหน้าที่ต่อหลังจากนั้น

ผลงานของทีมชาติอาร์เมเนียภายใต้การดูแลของวาร์ดาน มินาสยากับฟุตบอลยูโร 2012 อาร์เมเนียอยู่รวมกลุ่มกับ รัสเซีย สโลวาเกีย ไอร์แลนด์ มาซิโดเนียและอันดอร์รา ที่ถือว่าตัวเองเป็นประเทศที่ฝีมือต่ำสุดในกลุ่ม เป็นงานยากจริงๆในสายนี้ เริ่มการแข่งขันก็เอาชนะตัวเต็งผู้นำกลุ่มสโลวาเกีย เสมอรัสเซีย ทำประตูมากที่สุดในสายบี เกือบจะได้ลุ้นเข้ารอบแต่ก็มีเหตุการณ์มาขัดขวางไม่ได้ลงเล่นยูโร 2012 ก็ตามแต่ทีมชาติอาร์เมเนียร์ก็ขยับลำดับขึ้นไปจากเดิมและวาร์ดาน มินาสยาก็กลับประเทศในฐานะวีรบุรุษ ยิ่งมาถึงช่วง ฟุตบอลโลก 2014 ถือว่าเป็นจุดต่ำสุดของทีมไม่ผ่านเข้ารอบคัดเลือกใดๆเลยแม้แต่รายการเดียวรวมถึง ฟุตบอลยูโร 2016 เช่นเดียวกัน ฟอร์มการเล่นของทีมกลับฟื้นคืนมาอีกหลังจากบอลโลก 2018 เอาชนะดับความหวังไปบอลโลกของมอนเตรเนโกร เอาชนะ 3-2 คาบ้าน แต่ก็มาทีมแพ้คืนอีกจนทำให้ตัวเขาเองโดนไล่ออก อาร์เมเนียเกือบได้ไปยูโร 2020 เอาชนะกรีซ ลิกเตนสไตน์ แต่แพ้อิตาลีก็เลยอดไป ถึงอย่างนั้น ผลงานในยูฟ่า เนชั่น ลีก ที่เริ่มตั้งแต่ดิวิชั่น D ปี 2018 – 2019 ก็ขยับมาเป็น C ในปีต่อมา และปี 2020 – 2021 ก็เลื่อนมาเป็นชั้น B และเป็นตัวแทนกลุ่ม J มีแต้มเยอะมากที่สุดเป็นผู้นำกลุ่มได้ไปฟุตบอลโลก กาตาร์ 2023 เป็นครั้งแรก

เกียรติประวัติ ผลงานที่ดีที่สุดของทีม / สนามแข่งขัน

  1. เข้าร่วมแข่งขันฟุตบอลโลกคัดเลือกรอบสุดท้าย กาตาร์ 2023 เป็นครั้งแรก
  2. ดิวิชั่น B ยูฟ่า เนชั่น ลีก
  3. อยู่ลำดับที่ 42 ของยูฟ่า ลำดับที่ 88 ของฟีฟ่า

ในปัจจุบันทีมชาติใช้สนามกีฬาแห่งชาติวัซแกน ซาร์กซียัน และ สนามกีฬาเฮอรัซดัน ( Hrazdan Stadium and Vazgen Sargsyan Republican Stadium) ตั้งอยู่ที่กรุงยาเรวาน เมืองหลวงประเทศอาร์เมเนีย ทั้งสองสนามเอาไว้เป็นที่จัดการแข่งขันฐานะเจ้าบ้านของอาร์เมเนียมีความจุที่นั่งประมาณ 54000 ที่นั่ง ครั้งล่าสุดที่ได้ใช้สนามก็คือการคัดเลือกฟุตบอลโลก 2014 กับทีมชาติอิตาลี และเอาไว้ใช้ในการแข่งขันฟุตบอลภายในประเทศอีกต่อมาเรื่อยๆ