Ras Abu Aboud stadium (ราส อาบู อาบู๊ดด์ สเตเดี่ยม) สนามกีฬาแห่งแรกของโลกที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้
1 ใน 8 สนามกีฬาที่จะถูกใช้ในการแข่งขันกีฬาฟุตบอลโลก 2022 ที่ประเทศกาตาร์เป็นเจ้าภาพ เป็นสนามกีฬาแห่งแรกในประวัติศาสตร์ที่หลังจบการแข่งขันจะถูกรื้อถอน นำส่วนต่างๆของสนามไปใช้ประโยชน์ในด้านอื่นๆให้สูงที่สุดและรักษาสภาพสิ่งแวดล้อม

นับตั้งแต่ที่ประเทศกาตาร์ได้รับการคัดเลือกให้เป็นเจ้าภาพผู้จัดการแข่งขันมหกรรมกีฬา ฟุตบอลโลก ฟีฟ่าเวิร์ดคัพ (FIFA World Cup) 2022 สิ่งสำคัญที่จะเป็นหน้าตาให้กับประเทศเจ้าภาพได้มากที่สุดก็คือสนามกีฬาที่จะถูกใช้ในการจัดการแข่งขันนั่นเอง เจ้าภาพฟุตบอลโลก กาตาร์ 2022 ได้ใช้สนามกีฬาทั้งหมด 8 สนามในการแข่งขันฟุตบอลโลกครั้งนี้ และ ราส อาบู อาบู๊ด สเตเดี่ยม ก็เป็นสนามกีฬาที่จะถูกใช้ในการแข่งขันไปจนถึงรอบรองชนะเลิศ ฟุตบอลโลก 2022 หลังจากี่จบการแข่งขันจะถูกรื้อทิ้งเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ เปลี่ยนพื้นที่เดิมให้กลายเป็นสวนสาธรณะ พื้นที่สีเขียวแก่ประชาชนต่อไป
ราส อาบู อาบู๊ด สเตเดี่ยม ตั้งอยู่ที่ โดฮา เมืองหลวงประเทศกาตาร์ บนชายฝั่งริมอ่าวทะเลที่ตรงข้ามกับฝั่งตะวันตกของเมืองโดฮาสามารถมองเห็นทัศยีภาพที่สวยงามตระการตาได้อย่างชัดเจน กินพื้นที่ในการก่อสร้างทั้งหมด 450,000 ตารางเมตร มีที่นั่งความจุผู้ชมได้มากถึง 40,000 ที่นั่ง โครงสร้างส่วนประกอบทั้งหมดของสนามมาจากวัสดุรีไซเคิลที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้อีกครั้ง อาทิ ตู้คอนเทนเนอร์ 974 ตู้ โครงสร้างตึก เหล็กอุตสาหกรรที่ไม่ใช้งานแล้ว ชิ้นส่วนอุปกรณ์อิเลกทรอนิกส์ แล้วนำมาประกอบก่อสร้างเป็นตัวอาคารสนามกีฬาพร้อมกับสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐานที่จำเป็น โครงสร้างความมั่นคงของอาคารอยู่ในระดับมาตรฐานสากลอย่างแน่นอน ออกแบบและควบคุมการก่อสร้างโดย บริษัทเฟนวิค อิริบาร์เรน อาร์ชิเท็คส์ ประเทศเยอรมนี ชิ้นส่วนต่างๆสามารถถอดออดจากกัน แยกชิ้นส่วน และสามารนำกลับมาประกอบใหม่ได้

สนามกีฬาแห่งนี้จะเป็นต้นแบบของการสร้างสนามกีฬาใหม่ในโลกอนาคตที่จะไม่ใช่เพียงแค่ใช้ในการแข่งขันจบลงแล้วหมดประโยชน์ตั้งทิ้งเอาไว้เฉยๆอีกต่อไป บรรดาชิ้นส่วนต่างๆของสนามกีฬายังเอาไปทำประโยชน์ต่อได้อีก เช่น ชิ้นส่วนโครงสร้างสนามนำไปบริจาคให้กับประเทศที่กำลังขาดแคลนสิ่งเหล่านี้ พื้นที่ของสนามสามารถนำมาบริหารจัดการเป็นสวนสาธารณะ สปอร์ต คอมเพล็กซ์ ศูนย์กิจกรรนันทนาการ ที่นั่งในสนาม ห้องน้ำ ส่วนพื้นที่ให้บริการ ก็นำไปใช้ในด้านอื่น

ไม่เพียงแค่สามารถนำชิ้นส่วน โครงสร้างอาคาร ของสนามกลับมาใช้ใหม่ได้อย่างยั่งยืนที่เป็นการอนุรักษ์โลก ลดสภาวะการเป็นมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม เรื่องของงบประมาณในการจัดสร้างสนามที่ต้องใช้เม็ดเงินมหาศาลก็จะถูกลง ใช้จ่ายน้อยลง ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างได้เป็นจำนวนมากเลยทีเดียว เป็นตัวอย่างที่ดีในการพัฒนาสนามกีฬาและประเทศที่วางแผนอยากจะเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันเกมส์กีฬาในอนาคตอีกด้วย