
ก่อนหน้าเคยมีการลงความเห็นกันในเรื่องของเทคโนโลยี VAR ซึ่งยังไม่ได้นำมาใช้ในการแข่งขันฟุตบอลโลกรอบคัดเลือกในปีนี้แต่อย่างใด แต่ได้นำมาใช้ในการแข่งขันกีฬาอื่นๆ มากมายรวมไปถึงฟุตบอลโลกปี 2018 จนมาถึงเมื่อกลางปีทางฟีฟ่า เตรียมนำเทคโนโลยี AI เข้ามาใช้ในการแข่งขันกีฬาอื่นรวมถึง ฟุตบอลโลก 2022 โดยดูเรื่องของปัญหาล้ำหน้า หรือ Offside ของผู้เล่น เริ่มใช้ในศึกอาหรับ คัพ และฟุตบอลโลกในปีหน้า

เรื่องของการล้ำหน้า ถือเป็นหนึ่งในปัญหาใหญ่ของวงการฟุตบอล เพราะหลายครั้งกรณีของการล้ำหน้า ก็มีมาตรฐานในการตัดสินว่าลูกไหนล้ำหน้าหรือไม่ล้ำที่ไม่แม่นยำมากนัก แน่นอนว่า องค์กรที่ทำหน้าที่กำกับฟุตบอลหรือที่เรารู้จักกันดีในนามของฟีฟ่า ย่อมทราบถึงปัญหานี้ดีอยู่แล้ว และกำลังมีโครงการที่จะทดลองใช้เทคโนโลยีที่ติดตามดูว่า มีแขนหรือขาของผู้เล่นคนใดอยู่ในตำแหน่งล้ำหน้าหรือไม่ ทั้งนี้ ฟีฟ่า เรียกระบบดังกล่าวว่า เทคโนโลยีล้ำหน้ากึ่งอัตโนมัติ หรือ Semi-automatic offside technology เทคโนโลยีนี้จะใช้กล้องติดตั้งไปตามจุดต่างๆ เช่น หลังคาสนาม จากนั้นก็จะส่งภาพไปยังห้องของเจ้าหน้าที่ แล้วประมวลผลออกมาอย่างเรียลไทม์ ว่ากันว่า กล้องที่ทำหน้าที่ตรวจจับการล้ำหน้าจะมีอยู่ประมาณ 10 ถึง 12 ตัว สามารถเก็บจุดต่างๆ ของผู้เล่นได้ 50 ครั้งต่อวินาที
แม้ในปัจจุบัน เรื่องของการล้ำหน้าจะมีเทคโนโลยีเข้ามาช่วยเรื่องของการตัดสินให้เห็นบ้างแล้ว ยกตัวอย่างเช่นเทคโนโลยี VAR แต่การมีอยู่ของ VAR ก็ถูกตั้งคำถามเป็นอย่างมาก เนื่องจากฟุตเทจ VAR ไม่ได้มีภาพที่ละเอียดและมีเฟรมเรตที่พอเหมาะพอเจาะกับจังหวะที่บอลออกจากเท้าของผู้เล่นแบบเป๊ะๆ จากตัวอย่างข้างต้น ปัญหาที่ตามมาก็คือ ในช่วงของการแข่งขันฟุตบอลลีก กรรมการในสนามจะต้องใช้เวลานานมากในการดูว่าจังหวะที่ผู้เล่นฝ่ายรุกทำประตูได้นั้น มีการล้ำหน้าจริงหรือไม่ ส่งผลให้ความต่อเนื่องของเกมฟุตบอลเป็นอันต้องสะดุด เป็นเรื่องที่น่าหงุดหงิดใจของแฟนบอลทั้งสองทีมที่จะต้องมาลุ้นว่าทีมที่ตัวเองเชียร์อยู่นั้น จะได้ประตูหรือเสียประตู ปิแอร์ลุยจิ คอลลินา อดีตกรรมการฟุตบอลที่ครั้งหนึ่งได้รับการยอมรับว่า เป็นกรรมการที่ดีที่สุดของโลก เปิดเผยว่า VAR ส่งผลกระทบทางบวกต่อโลกฟุตบอล จำนวนความคิดพลาดจังหวะสำคัญๆ ลดลงไป แต่มันก็จะต้องพัฒนาต่อไป ซึ่งการล้ำหน้าเป็นหนึ่งในนั้นสำหรับเทคโนโลยีล้ำหน้ากึ่งอัตโนมัติ จะเริ่มใช้ในศึกอาหรับ คัพ ซึ่งการแข่งขันจะเริ่มต้นขึ้นในวันที่ 30 พฤศจิกายน จนถึงวันที่ 18 ธันวาคม ถ้าหากทุกอย่างไปได้สวย เทคโนโลยีนี้ จะถูกส่งต่อนำไปใช้ในศึกฟุตบอลโลก 2022 ที่ประเทศกาตาร์

ซึ่งก่อนหน้านี้ทางฟีฟ่าได้เคยลองทดสอบ ในการแข่งขันฟุตบอลเอฟเอ คัพรอบชิงชนะเลิศ โดยการทดสอบครั้งนี้นำโดย มร.บาห์เวสชาน มัวร์เกนห์ ผู้ประสานงานฝ่ายนวัตกรรมเทคโนโลยีฟุตบอลของฟีฟ่า พร้อมด้วยฝ่ายพัฒนาผู้ตัดสิน และผู้ตัดสินชาวไทย ในวันที่ 4 ต.ค. 62 การทดสอบครั้งนี้เป็นการทดสอบการวางกล้องในจุดต่างๆ ให้ถูกต้องและเหมาะสม รวมถึงศักยภาพในการทำหน้าที่ของผู้ตัดสิน โดยใช้เกมอุ่นเครื่องของผู้เล่นของทีมชาติไทย รุ่นอายุไม่เกิน 19 ปี ชุดเตรียมทีมทำศึก ”จีเอสบี แบงค็อก คัพ 2019” ในการทดสอบครั้งนี้ ขณะที่ผู้ตัดสินที่ทำหน้าที่นั้นเป็นกลุ่มผู้ตัดสินที่ผ่านการอบรมครบทุกขั้นตอน และอยู่สุดท้ายของการอบรมคือช่วงเก็บชั่วโมงในการทดลองทำหน้าที่เพื่อให้มีประสบการณ์จริงตามข้อกำหนด