กฏการเลือกประเทศเป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลกของฟีฟ่า

การแข่งขันกีฬาที่เป็นระดับโลกก็มีอยูหลายชนิด แต่ถ้าจะให้เป็นที่ 1 ก็คือการแข่ขันฟุตบอลชิงแชมป์ระหว่างประเทศ หรือที่เรียกกันชินปากง่ายๆว่า ฟุตบอลโลก ฟีฟ่า เวิลด์คัพ นั่นเอง ฟุตบอลทีมชาติทั่วโลก 210 ทีมที่เป็นสมาชิกของสมาพันธ์ฟุตบอลนานาชาติจะแข่งขันคัดเลือกจนเหลือจำนวนุดท้าย 32 ทีมที่จะแข่งขันกันจริงๆเพื่อหาความเป็นฟุตบอลทีมชาติที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในรอบ 4 ปี ฟีฟ่า เวิลด์คัพครั้งล่าสุดที่กำลังจะเกิดขึ้นก็คือ ฟุตบอลโลก 2022 เจ้าภาพฟุตบอลโลก ครั้งนี้คือประเทศกาตาร์ ช่วงเดือนพฤศจิกายนปีหน้าถึงเดือนธันวาคม 2565 ทุกครั้งที่มีหมกรรมกีฬายิ่งใหญ่ที่สุดแบบนี้เกิดขึ้นก็จะมีการแย่งชิงตำแหน่งเสนอตัวเป็น ประเทศเจ้าภาพจัดแข่งขันฟุตบอลโลก ทุกปี มีทั้งการเสนอตัวเดี่ยวประเทศเดียว หรือรวมตัวกันในระดับภูมิภาคเสนอตัวเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันซึ่งไม่ใช่จะเป็นกันได้ง่ายๆ ทางฟีฟ่าผู้ควบคุมการแข่งขันจะมีกฎข้อระเบียบบังคับสำหรับประเทศหรือทวีปที่ต้องการเข้าร่วมเสนอชื่อเป็นเจ้าภาพจัดฟุตบอลโลกให้ผ่านมาตรฐานเท่านั้นถึงจะได้รับพิจารณา

มาตรฐานข้อบังคับประเทศเสนอตัวเป็น เจ้าภาพฟุตบอลโลก  ของทางฟีฟ่า

กาตาร์ได้รับเลือกเป็นเจ้าภาพ ฟุตบอลโลก 2022

ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยกับการที่จะเสนอตัวเป็น เจ้าภาพฟุตบอลโลก กับทางฟีฟ่า เรื่องสำคัญที่ใหญ่ที่สุดและเป็นปัญหากับหลายๆชาติที่ต้องถอยทันทีตั้งแต่เจอข้อบังคับข้อแรก มาตรฐานกฎข้อบังคับของทางฟีฟ่าที่กำหมดไว้ใช้เป็นเกณฑ์คัดเลือกประเทศเจ้าภาพฟุตบอลโลกมีดังนี้

  1. เป็นชาติสมาชิกกับทางฟีฟ่า และต้องมีโครงสร้างของกีฬาฟุตบอลในประเทศเป็นอย่างดี ไล่ลงมาตั้งแต่ ลีกฟุตบอลในประเทศ ภูมิภาค ทั้งแบบอาชีพทีมสโมสรและทีมชาติ ไปจนถึงฟุตบอลรากหญ้าตามท้องถิ่นทั่วไป
  2. ต้องมีสนามกีฬาใช้ในการแข่งขันหลัก ฟุตบอลโลก ฟีฟ่า เวิลด์คัพ อย่างน้อย 8 สนาม ไม่นับรวมสนามซ้อมย่อยและสปอร์ตคอมเพล็กซ์ และแต่ละสนามต้องมีจำนวนที่นั่งความจุผู้ชมในสนามอย่างน้อยที่สุด 40,000 ที่นั่งส่วนสนามที่จะใช้ในพิธิเปิด – พิธีปิด ฟุตบอลโลก จะต้องมีที่นั่งในสนามอย่าต่ำคือ 80,000 ที่นั่ง
  3. ระบบคมนาคม การสื่อสาร ต้องเป็นระบบอย่างดี ขนส่งสาธารณะต้องเชื่อมต่อไปแต่ละสนามอย่างสะดวกรวดเร็วและสามารถรองรับผู้ชม นักกีฬาทีมชาติและผู้เกี่ยวข้องได้อย่างพอดี ศูนย์ข่าวส่วนกลางต้องมีอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงพร้อมถ่ายทอดสัญญาณออนไลน์ได้ทันทีเมื่อมีการแข่งขัน
  4. ที่พัก โรงแรม ทั้งของทัพนักกีฬาฟุตบอลทีมชาติและนักท่องเที่ยวที่จะเดินทางมาในช่วงแข่งขันก็ต้องมเตรียมพร้อมรองรับได้ไม่เกิดปัญหา สนามบินจะต้องรองรับจำนวนผู้โดยสารเดินทางไม่ต่ำกว่า 1500 คนต่อชั่วโมงและต้องไทม่ไกลเกินไปจากสนามที่ใช้ในการแข่งขันทั้งหมดอีกด้วย
  5. ผลงานของทีมชาติเจ้าภาพ เพื่อเป็นการรักษาภาพลักษณ์ของการแข่งขันฟุตบอลโลก ฟีฟ่าจึงอยากให้ทางประเทศที่จะเสนอตัวมีผลการแข่งขันที่น่าพอใจ ยกตัวอย่าง เคยผ่านเข้ารอบสุดท้ายฟุตบอล 32 ทีมมาก่อน เนื่องจากประเทศเจ้าภาพจะได้สิทธิ์เข้ารอบสุดท้ายอัตโนมัติถ้าเจ้าภาพมีผลงานแย่ๆมันก็จะดูห่างชั้นกับทีมอื่นที่เข้ามาแบบปกติส่งผลต่อมาตรฐานที่ดูเหมือนตกต่ำของฟีฟ่า
  6. ทางรัฐบาลทุกประเทศจะต้องเซ็นรับรองการจัดแข่งขันฟุตบอลโลก และเมืองที่มีมีสนามกีฬาแข่งขันก็ต้องให้ทางผู้นำของเมืองเซ็นรับรองด้วยเช่นกันเพื่อสร้างความมั่นใจให้ทางฟีฟ่า

เหฌนกฎข้อบังคับทั้งหมดของทางฟีฟ่าไปแล้วใช่ไหมล่ะ ดูเอาแล้วกันว่าเป็นเรื่องยากขนาดไหน สิ่งสำคัญที่สุดคือเม็ดเงินลงทุนอันมากมายมหาศาลที่ต้องใช้ไปในการก่อสร้างสนามหรือพัฒนาระบบต่างๆให้ตรงตามเกณฑ์ เจ้าภาพฟุตบอลโลกรอบที่ผ่านมาคือประเทศรัสเซียใช้เงินไปทั้งสิ้น 4.6 แสนล้านบาทจัด World Cup 2018 หน้าตาทางการเงินเป็นตัวแสดงให้เห็นถึงความั่งคั่งของประเทศที่ได้รับสิทธิ์การจัดแข่งขันฟุตบอลโลกได้อย่างดี ประเทศที่ได้เป็นเจ้าภาพก็จะได้ผลประโยชน์จากเม็ดเงินมากมายที่จะหลั่งไหลมาจากค่าสัปทานและธุรกิจท่องเที่ยวเดินทางในช่วงการแข่งขันจากจำนวนนักท่องเที่ยวทั่วโลกนับล้าวยสนที่จะไปดูการแข่งขัน เชียร์ทีมชาติของตนเองในการแข่งขันฟุตบอลโลกทุดครั้งไป