เบื้องหลังความ ความยิ่งใหญ่ของ 8 สังเวียนแข้ง ฟุตบอลโลก 2022 ที่ประเทศกาตาร์นั้น ล้วนเต็มไปด้วยความสูญเสียและความเจ็บปวดจากแรงงานข้ามชาติจากเอเชียใต้จำนวนมหาศาลที่ต้องมาพบกับการใช้งานอย่างหนักหน่วง จนทำให้องค์กรด้านสิทธิมนุษย์ชนทั่วโลกต่างจับตามองอย่างใกล้ชิดถึงการกระทำดังกล่าว

แต่อย่างไรก็ดีแม้ว่าหลายองค์กรจะออกมาประกาศถึงการปฏิบัติที่ไม่ยุติธรรมของเจ้าภาพกาตาร์ต่อแรงงานก่อสร้างสนามแต่ก็ไม่ได้ทำให้เจ้าภาพสะทกสะท้านแต่อย่างใด เพราะสนามแข่งทั้ง 8 แห่งนั้นได้ทำการสร้างเสร็จอย่างสมบูรณ์แล้ว อีกทั้งการดึงนักฟุตบอลซูเปอร์สตาร์เข้ามาช่วยการโฆษณาการแข่งขันก็กำลังเป็นไปได้สวยเลยทีเดียว ซึ่งจากการสัมภาษณ์คนงานก่อสร้างสนามฟุตบอลโลก 2022 แบบสุ่มของสำนักข่าว Mail on Sunday พบว่าทางเจ้าภาพได้ตกลงที่จะขนย้ายแรงงานก่อสร้างสนามทั้งหมดออกจากประเทศกาตาร์ภายในเดือนสิงหาคม 2022 โดยไม่ได้รับเงินค่าจ้างเพื่อห้ามปรากฎตัวระหว่างการดำเนินการแข่งขันอีกด้วย องค์การนิรโทษกรรมสากล กล่าวว่า การพบครั้งนี้เป็นสาเหตุของความกังวลและเรียกร้องให้สมาคมฟุตบอลอังกฤษกดดันกาตาร์เพื่อให้กาคุ้มครองแรงงานข้ามชาติมากขึ้น

เมย์ โรมานอส นักวิจัยด้านสิทธิผู้อพยพขององค์การนิรโทษกรรมสากล กล่าวว่า “เรามีความกังวลเกี่ยวกับรายงานที่ระบุว่า มีการขอให้แรงงานข้ามชาติจำนวนมากออกจากประเทศก่อนการแข่งขันฟุตบอลโลกปี 2022 จะเริ่มขึ้น เรารู้ว่าคนงานจำนวนมากจ่ายเงินหลายพันดอลลาร์เพื่อค่าธรรมเนียมการจัดหางานที่ผิดกฎหมายเพื่อประกันงานของพวกเขาในกาตาร์และนำเงินกู้ที่มีดอกเบี้ยสูงมาจ่ายให้พวกเขา ผู้ที่จะต้องเดินทางออกนอกประเทศก่อนจะจ่ายเงินกู้พบว่าตัวเองมีหนี้ก้อนโต” “สมาคมฟุตบอลอังกฤษ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของคณะทำงานยูฟ่าว่าด้วยสิทธิแรงงานในกาตาร์ ควรกดดันกาตาร์ให้เร่งรัดการคุ้มครองแรงงานข้ามชาติอย่างเร่งด่วน ชดเชยทางการเงินแก่คนงานทั้งหมดและตรวจสอบการเสียชีวิตโดยไม่ทราบสาเหตุ”

ทางด้านโฆษกของสมาคมฟุตบอลอังกฤษได้ออกมาเผย ดังนี้ “เราเชื่อว่ามีหลักฐานของความคืบหน้าที่สำคัญของกาตาร์ เกี่ยวกับสิทธิของคนงานแต่เราตระหนักดีว่ายังมีอีกมากที่ต้องทำ มุมมองของเรายังคงอยู่ว่าการเปลี่ยนแปลงทำได้ดีที่สุดโดยการทำงานร่วมกับผู้อื่น”  นอกจากนี้ สำนักงานข่าว The Sunday Times ได้รายงานอีกว่าแรงงานที่ก่อสร้างสนามฟุตบอลโลกจำนวนมากได้ป่วยเป็นโรคไตสายพันธุ์ใหม่ซึ่งเกิดจากการอุปโภคและบริโภคน้ำที่ไซต์คนงานก่อสร้าง โดยแพทย์และผู้เชียวชาญด้านสาธารณสุขของประเทศเนปาลได้เผยว่าจำนวน 1 ใน 5 ของผู้ป่วยที่ฟอกไตหรือปลูกถ่ายไตเป็นคนงานที่กลับมาจากประเทศกาตาร์ ทั้งหมด